fbpx

ใช้รถสายพานระวังอย่าให้ขาด

      รถจักรยานยนต์ไม่ว่าจะเป็นรุ่นอะไรก็แล้วแต่ เมื่อถึงเวลาก็ต้องดูแลรักษาโดยมีคู่มือเป็นตัวกำหนดระยะการใช้งาน เพราะในระบบเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ยุคใหม่ส่วนมากระบบจะมีความสัมพันธ์กัน เครื่องยนต์จะอาศัยกลไกในการส่งกำลัง และในรถ Automatic ก็ถือว่าเป็นรถอีกรุ่นที่เป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ได้มีความสะดวกสบายมากขึ้น 

      ต้องบอกว่ากลายเป็นรถที่หลายคนมีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และถึงแม้จะเป็นรถแบบ Automatic หรือว่าสายพานนั้น เรื่องการดูแลรักษาก็ต้องอยู่ในระยะเวลาที่ในคู่มือกำหนดด้วยเช่นเดียวกัน และเช่นเดียวกันหากไม่ได้รับการดูแลโอกาสที่จะเกิดความเสียหายหรือlสายพานขาดนั้นก็มีสูงทีเดียว ดังนั้นก็ต้องดูแลเช็คตามระยะเพื่อเป็นการเช็คความสมบูรณ์ให้กับรถของตัวเองอยู่ตลอดเวลา

ระบบส่งกำลังแบบสายพานนั้นมีข้อดีอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสียงที่เบากว่าโซ่ การดูแลรักษาที่แทบจะไม่ต้องทำอะไรเลยนอกจากการเปลี่ยนสายพานตามระยะเป็นหลัก แต่ในข้อดีก็มีข้อเสียตรงที่สายพานนั้นจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าโซ่ ดังนั้นก็จะต้องมีการเปลี่ยนมากกว่าโซ่อาจจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายขึ้นมาพอสมควร

โดยมากแล้วสายพานก็จะมีอายุการใช้อยู่ที่ประมาณ 24,000 กิโล ส่วนจะมากหรือจะน้อยนั้นลองดูในคู่มือที่ได้รับพร้อมรถจะมีการบอกข้อมูลเอาไว้อยู่แล้ว ถ้าหากขาดก่อนนั้นจะเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างลองมาดูกัน

สาเหตุที่สายพานขาดไว

การใช้งานในชีวิตประจำวัน 

การที่สายพานขาดก่อนระยะทางที่กำหนดนั้นอาจจะเกิดจากสาเหตุจากลักษณะของการขับขี่ใช้งานที่มีการออกตัวแบบกระชากอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงที่การจราจรติดขัด แล้วเปิดคันเร่งเร็วๆ สายพานก็จะทำงานหนักมากขึ้น ความร้อนตัวการสำคัญที่ทำให้สายพานเกิดการเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว 

 

การปรับแต่งชุดชาม

ต่อมาอีกหนึ่งเหตุผลก็คือการเอาชุดชามไปทำการโมดิฟายเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนขนาดเม็ดหรือว่าการขูดชามตามที่เราคุ้นเคยกันการขูดชามจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับสายพานทำงานหนักมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการที่สายพานต้องมีการขยายตัวหรือว่ารอบการทำงานที่มากขึ้นกว่าปกติ รวมถึงเม็ดที่มีอายุการใช้งานมานานทำให้น้ำหนักของเม็ดผิดเพี้ยนไปก็ทำให้สายพานมีการทำงานหนักมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน 

และสาเหตุสุดท้ายเลยก็คือตัวชามมีความผิดปกติอันเนื่องมาจากการใช้งานมานานก็จะทำให้ชามอาจจะมีร่องรอยที่ผิดเพี้ยนที่เกิดจากการใช้งานนั่นเอง นั้นก็เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้อายุของสายพานนั้นสั้นกว่าปกติ ถ้าเป็นแบบนั้นแล้วเราจะสามารถสังเกตอาการของสายพานได้อย่างไรว่าควรที่จะเปลี่ยนสายพานได้แล้ว อันดับแรกเลยก็คือการลองเช็คหรือเปิดดูช่องระบายที่ตัวแคร้งก์ซึ่งจะสามารถเปิดออกมาแล้วลองส่องไฟเข้าไปดูได้ แต่ก็อาจจะไม่สะดวกนัก ทำได้เพียงแค่ลองดูการสึกหรอของสายพานนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้น

ถ้าจะให้ชัดเจนจริงๆ ก็คือการเปิดฝาแคร้งก์ออกมาเพื่อดูการสึกหรอของสายพานจะได้ความชัดเจนมากที่สุด บางท่านอาจจะไม่สะดวกก็ต้องเข้าไปเช็คที่ศูนย์บริการว่าสายพานมีการสึกหรอมากน้อยขนาดไหน โดยเฉพาะก่อนการเดินทาง

 อีกหนึ่งข้อสังเกตก็คือการที่มีเสียงผิดปกติจากการใช้งาน บางท่านอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นเสียงเครื่องยนต์ ถ้าหากได้ยินเสียงผิดปกติควรที่จะรีบเช็คทันที เพราะถ้าหากฝืนใช้งานต่อไปอาจจะทำให้เกิดความเสียหายได้มากทีเดียว

ขี่รถอยู่แล้วสายพานขาดควรทำอย่างไร

 แล้วถ้าหากสายพานขาดกลางทางแล้วควรจะทำอย่างไรดี…? ซึ่งก็เป็นข้อกังวลที่หลายคนไม่อยากเจอ ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าขาดกลางทางจริงๆ ก็ต้องเข้าไปซ่อมร้านใกล้เคียงที่สุด เพราะถ้าหากขาดแบบปกติก็ไม่เท่าไหร่ แต่บางรายรุนแรงถึงขนาดสายพานไปตีแคร้งก์แตกได้เหมือนกันอันนี้ก็ต้องระวังให้ดี เพื่อนๆ สามารถซื้อสายพานสำรองติด Lambretta เอาไว้ได้ เผื่อขาดระหว่างขี่สามารถเข้าไปเปลี่ยนได้ที่ร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปได้เลยก่อนเดินทางผมแนะนำให้ลองตรวจสอบด้วยตัวเองเสียก่อน หรือสามารถให้ Lambretta AllRide ตรวจเช็คเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยของท่านก่อนก็ได้ครับ

ดังนั้นการดูแลและการตรวจเช็คสายพานถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการตรวจเช็คด้วยตัวเองเบื้องต้นควรสังเกตอาการของเสียงที่เกิดขึ้นให้ดีว่ามีเสียงอะไรที่ผิดปกติหรือไม่ อาจจะต้องจอดรถลงมาเพื่อฟังเสียงว่ามาจากตรงไหน สำหรับการเลือกสายพานก็ควรจะเลือกใช้สายพานที่เป็นของเดิมนั้นดีที่สุด ไหนๆ เมื่อเปิดสายพานออกมาดูแล้วก็ควรเช็คสภาพของชุดชามไปด้วยรวมถึงลักษณะของเม็ดด้วยก็ดี 

หลักๆ ที่สำคัญก็คือการตรวจเช็คระยะตามที่คู่มือกำหนดเอาไว้นั้นดีที่สุด และลดการเปิดคันเร่งเร็วๆเพื่อลดภาระให้กับสายพานด้วย และอีกอย่างหนึ่งก็คือหากเดินทางไกลแล้วก็ควรจะเข้ามาเช็คสายพานให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด

Related posts

คุยกับเราผ่านทาง SOCIAL MEDIA

Follow Us

สนใจออกรถ Lambretta กับเรา