Lambretta X300 Rear Carrier Rack
By AllRide x Lambretta Crafts
Neo Classic ดีไซน์
Lambretta X300 เป็นสกู๊ตเตอร์ที่ถูกออกแบบสร้างขึ้นด้วยการใช้ศิลปะยุค Neo Classic ดีไซน์ ผสมกับอัตลักษณ์ที่เป็น DNA เดิมของ Lambretta รุ่น Classic ที่เป็นเกียร์มือ ทำให้ X300 นี้มีความพิเศษกว่าสกู๊ตเตอร์ใดๆ Neo Classic คือศิลปะที่กำเนิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศษ แล้วขยายตัวไปทั่วยุโรป จุดเริ่มต้นคือเมื่อประมาณ 270 ปี ที่แล้ว สนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศษ ผู้รักงานศิลปะ ได้ส่งสถาปนิกหลวงและศิลปิน เดินทางไปศึกษางานศิลปะ ในอิตาลี และได้นำเอาศิลปะจากสถาปัตยกรรมของกรีกและโรมันโบราณ ยุคเก่าแก่กว่าสองพันปี มาประยุกต์ขึ้นใหม่ ด้วยไอเดียที่เรียบง่าย ไม่รกรุงรัง มีความสมมาตร แต่ดูยิ่งใหญ่ และใช้เส้นตรงผสมกับเส้นโค้งได้อย่างมีพลัง แล้วเรียกว่าศิลปะใหม่นี้ว่า Neo Classic
AllRide x Lambretta Crafts
Lambretta X300 จึงเป็นยนตกรรม ที่มีอัตลักษณ์พิเศษและมีดีไซน์ที่โดดเด่นในตัวเองสูงมาก ทำให้ AllRide และ Lambretta Crafts ต้องร่วมกันตีความคำว่า Neo Classic และในที่สุด เราได้เห็นตรงกันว่าการสร้างสิ่งประดับหรือของแต่งใดๆ ให้กับ X300 ไม่ใช่แค่ ตัด ดัด เชื่อมโลหะ เพื่อเอาไปใส่ใช้งาน แต่ต้องเป็น Minimal Style ที่ยังคงมีความแข็งแรง ทรงพลัง และที่สำคัญคือ เมื่อติดตั้งบน X300 แล้วจะต้องไม่ลดทอนเส้นสายที่สวยงาม และอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของตัวรถให้น้อยลง ไป แต่ต้องส่งเสริมให้ X300 มีความพรีเมี่ยม สุขุม ทรงพลัง และมีความเนี๊ยบในภาพรวมมากขึ้นอีกด้วย
แนวคิดในการออกแบบตัวแร็คหลัง
การใช้ท่อโลหะแนวยาวในทิศทางเดียวกับตัวรถ เป็นปัจจัยแรกที่ถูกเลือกมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ ปัจจัยที่สองคือการใช้ประโยชน์จากจุดยึดแร็คที่มีเพียง 2 ตัวท้ายเบาะเท่านั้น เพื่อให้ตัวแร็คมีความกระทัดรัด มินิมอล ตรงคอนเซ็พท์ และนำไปสู่ปัจจัยที่สาม คือการออกแบบสร้างฐานแร็คกับโครงสร้างจุดยึดต่างๆ อย่างแยบคายบนพื้นฐานของความเป็น Mechanism เพื่อให้แร็คสามารถรับน้ำหนักจากการขนสัมภาระได้จริง ซึ่งต้องถ่ายน้ำหนักจากสัมภาระลงไปที่น็อตเพียง 2 ตัวดังกล่าว และปัจจัยสุดท้ายคือการผสมผสาน ระหว่างเส้นตรงและเส้นโค้งต่างๆ ของแร็คให้มีทรวดทรงที่สอดคล้อง รับกันกับโครงสร้างเส้นสายโดยรวมของตัวรถอย่างกลมกลืน โดยต้องไม่มีความขัดแย้งใดๆ ทางสายตา
ขอขอบคุณสถานที่สวยๆอย่าง Davin Cafe’ คาเฟ่บรรยากาศดี อยู่ติดถนนประดิษฐ์มนูธรรม